Please use this identifier to cite or link to this item: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/5386
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนภาษาและปริชานความ เชื่อด้านการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ของนักศึกษาครู หลักสูตรครุ ศาสตร์ภาษาอังกฤษ - ความท้าทายต่อการจัดการศึกษาครู ในบริบท การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
Other Titles: Factors Affecting Language Classroom Practices and Pedagogical Cognitions about Communicative Langua ge Teachingof English Language Student-teachers - Challenges to Teacher Education in Teaching Practicum Context
Authors: การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
ชณิตา เก้าเอี้ยน
Keywords: การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
Issue Date: Dec-2562
Publisher: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
Abstract: การจัดการศึกษาครูผู้สอนภาษาอังกฤษในไทย ซึ่งสอดคล้องกับแทบทุกประเทศในโลก มุ่งเน้นการปฏิรูปการฝึกหัดครูฝึกสอนภาษาอังกฤษ เพื่อให้มีความสามารถในระดับมาตรฐานด้านการ สอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎ มีบทบาทและหน้าที่หลัก ในการฝึกหัดและผลิตครูจึงต้องเตรียมพร้อมในการพัฒนาศักยภาพครูให้ไปถึงมาตรฐานด้านการสอน ภาษาอังกฤษนี้. นักศึกษาครูภาษาอังกฤษถูกกาหนดให้รับบทบาทครูก่อนประจาการ รับหน้าที่ในการ ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเสมือนครูประจาการสอนตลอดหนึ่งปีการศึกษา ซึ่งต้องเผชิญความท้าทาย ในการที่จะประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการสอน เพื่อนาไปปฏิบัติจริงในบริบทโรงเรียนและห้องเรียนจริง เพื่อให้นักเรียนบรรลุการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้ ดังนั้น ปัญหาและปัจจัยต่างๆ ที่นักศึกษา ครูเหล่านี้มองว่าเป็นสิ่งท้าทาย จัดว่าเป็นฐานข้อมูลสาคัญสาหรับมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา หนึ่งใน สถาบันผลิตครูผู้นาในสามจังหวัดชายแดนใต้ จาเป็นต้องเรียนรู้ เข้าใจ และนามาใช้เป็นฐานข้อมูล สาคัญในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาครู และพัฒนาศักยภาพครูให้ได้ตามมาตรฐาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสารวจ ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1. ศึกษาปัญหาและปัจจัยในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ที่ถูกจัดเป็นเรื่องท้าทายในการสอน ในชั้นเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักศึกษาครูสาขาภาษาอังกฤษ และ 2. ศึกษาและสารวจ ปริชานปัญญาด้านการสอน(Pedagogical Cognition) ของ นักศึกษาครูภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาครูภาษาอังกฤษระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2561 ครุศาสตรบัณฑิตสาขาภาษาอังกฤษมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในบริบทการฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครู ในสามจังหวัดชายแดนใต้ รวมทั้งสิ้น 36 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายตามกลุ่มเจาะจงสาคัญ เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ (1) แบบสอบถามแบบมาตราส่วน โดยใช้วิธีการทางสถิติวิเคราะห์และ ประมวลผล ด้วยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสาเร็จรูป แปรผลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2) แบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการ ตรวจสอบข้อมูลด้านเนื้อหา และการแปรผลเชิงคุณภาพ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า (1) ปัญหาที่ถูกมองว่าเป็นสิ่งท้าทายในการจัดการสอนแนวทาง สื่อสารในชั้นเรียนภาษาอังกฤษ ข้อมูลวิจัยสามารถแบ่งตามลักษณะที่เกี่ยวข้อง 4 ด้าน ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาที่นักศึกษาครูภาษาอังกฤษส่วนใหญ่จัดเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพล ท้าทายต่อการสอนแนว สื่อสารจากจานวนเฉลี่ยมากไปน้อย ตามลาดับดังนี้ ดังนี้ ลาดับ 1. ปัจจัยที่เกี่ยวกับครู และปัจจัยที่ เกี่ยวกับการบริหารการศึกษาและการจัดการศึกษา ลาดับ 2.ปัจจัยที่เกี่ยวกับหลักการ CLT ลาดับ 3. ปัจจัยที่เกี่ยวกับนักเรียน (2) ปริชานปัญญาด้านการสอน ที่เกี่ยวกับการสอนภาษาแนวสื่อสาร เป็นไป ในทางสนับสนุนการสอนภาษาแนวสื่อสารในระดับ ‘เล็กน้อย’ ทั้งก่อนและหลัง การฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครูในภาคการศึกษาที่ 1 โดยไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในปริชานปัญญาโดยรวม ผลการวิจัยที่สาคัญ คือ นักศึกษาครูภาษาอังกฤษในบริบทสามจังหวัดชายแดนใต้ เผชิญความท้าทาย ในการสอน คล้ายกับครูมือใหม่ในบริบทการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ ทั้งในไทย และหลายประเทศ และนักศึกษาครูมีความรู้ด้านการสอนแนวสื่อสาร แต่ไม่ได้มีปริชานปัญญาด้าน การสอนที่สนับสนุนแนวทางสื่อสาร โดยเฉพาะเมื่อเผชิญสิ่งท้าทายในการปฏิบัติการสอน ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้ที่สาคัญต่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบการอบรมครู และผู้บริหารจัดการ หลักสูตรการศึกษาครูภาษาอังกฤษ คือ การทาความเข้าใจปริชานปัญญาด้านการสอน ในส่วนทัศนคติ ด้านการสอนภาษาแนวสื่อสาร และ ความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและปัจจัยที่นักศึกษาครู เห็นว่าเป็นสิ่งท้าทายในการสอนในบริบทจริง โดยนามาเป็นส่วนหนึ่งของบทเรียนในวิชาที่เกี่ยวข้องใน หลักสูตร เพื่อการพัฒนาศักยภาพครูด้านความรู้ ควบคู่กับพัฒนาจิตวิทยาด้านการสอน ในการพัฒนา ครูสู่ครูมืออาชีพ
URI: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/5386
Appears in Collections:4.05 วิจัย



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.