Please use this identifier to cite or link to this item: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/6525
Title: แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มผู้ผลิตโกปี๊เบตงแบบมีส่วนร่วม
Other Titles: The Guidelines for the Development of Kopi-Betong Manufacturer Participatory Management
Authors: นินุสรา มินทราศักดิ์
มัสวิณี สาและ
ศรีประไพ อุดมละมุล
อานนท์ มุสิกวัณณ์
Keywords: การบริหารจัดการกลุ่ม
โกปี๊เบตง
การมีส่วนร่วมของชุมชน
Issue Date: 27-Jan-2563
Publisher: สมาคมพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคม
Series/Report no.: งานประชุมวิชาการการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นและสังคมระดับชาติ ครั้งที่ 19 (CSD สัมพันธ์) เรื่อง “นวัตกรรมการพัฒนาสู่ความยั่งยืน”;15-24
Abstract: การศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มผู้ผลิตโกปี๊เบตงแบบมีส่วนร่วมมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผู้ผลิตโกปี๊วังเก่า และ 2. เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มแบบมีส่วนร่วมงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มแม่บ้าน เกษตรกรกาแป๊ะกอตอใน อำเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 20 คน โดยใช้กระบวนการ การจัดเวทีประชาคมการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการศึกษาดูงาน เป็นเครื่องมือใน การรวบรวมข้อมูลโดยผ่านการสังเคราะห์สรุปเป็นประเด็นเชิงพรรณา จากการศึกษาพบว่า 1. การศึกษา กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผู้ผลิตโกปี๊วังเก่า ได้มีการนำ กระบวนการจัดการกลุ่ม 5 ก. คือ 1. กลุ่ม 2. กรรมการ 3. กฎกติกา 4. กองทุน และ 5. กิจกรรม เป็นหลัก ในการพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มนั้นจะช่วยทำให้นักพัฒนาหรือผู้นำชุมชนได้เข้าถึงกระบวนอย่างมี ประสิทธิภาพ 2. ในการแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มแบบมีส่วนร่วมผู้วิจัยได้ค้นพบขั้นตอน กระบวนการจัดการกลุ่มและการมีส่วนร่วมโดยผ่านการใช้หลักการ 5 ก.ซึ่งประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ 1) การจัดประชุมกลุ่มครั้งที่ 1 เพื่อให้ความรู้แนวทางการบริหารจัดการกลุ่มที่ประสบผลสำเร็จ 2) ศึกษาดูงาน กลุ่มที่ประสบผลสำเร็จ เพื่อเปิดโลกทัศน์สมาชิกกลุ่ม 3) การจัดประชุมกลุ่มครั้งที่ 2 เพื่อสังเคราะห์ความรู้ที่ ได้จากดูงาน 4) การจัดประชุมกลุ่มครั้งที่ 3 เพื่อร่างระเบียบ 5) การจัดประชุมกลุ่มครั้งที่ 4 เพื่อนำระเบียบ เข้าการประชุมเพื่อรับรอง 6) การจัดประชุมกลุ่มครั้งที่ 5 เพื่อแก้ไขประเด็นที่ขัดข้องเกี่ยวกับกฎระเบียบ และระเบียบสมบูรณ์และจัดทำแผนการดำเนินงานของกลุ่ม และ 7) ติดตามผลการดำเนินงานของกลุ่ม เป็นระยะ ๆ ทั้งนี้ ในกระบวนการดังกล่าว สมาชิกกลุ่มมีความจำเป็นต้องมีพี่เลี้ยงหรือภาคีร่วมเพื่อ การพัฒนา
URI: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/6525
Appears in Collections:4.02 บทความวิจัย

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-19th CSD proceedings (15-24).pdf412.49 kBAdobe PDFView/Open
2563-19th CSD proceedings (cover).pdf9.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.