Please use this identifier to cite or link to this item: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/6285
Title: ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสำนวนไทย ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
Other Titles: Yala Rajabhat University Students’ Understanding and Comprehension of Thai Proverbs
Authors: ขวัญตา ทวีสุข
สวพร จันทรสกุล
ซูไรดา เจะนิ
Keywords: ความรู้ในสำนวนไทย
ความเข้าใจในสำนวนไทย
นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
Issue Date: 17-Aug-2563
Publisher: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
Series/Report no.: การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 6 RUNIRAC VI;219-227
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับสำนวนไทย ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2) เพื่อศึกษา ความเข้าใจเกี่ยวกับสำนวนไทย ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 3) เพื่อศึกษาความสามารถในการนำสำนวนไปใช้ ของนักศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏยะลา โดยมีกลุ่มผู้บอกข้อมูล คือ นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ชั้นปีที่ 1-3 ปีการศึกษา 2561 ชั้นปีละ 20 คน รวมทั้งสิ้น 60 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบ เรื่องความรู้ความเข้าใจสำนวนไทย โดยแบ่งเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 ทดสอบความรู้เรื่องสำนวนไทย จำนวน 20 ข้อ ตอนที่ 2 ทดสอบความเข้าใจ เรื่องสำนวนไทย จำนวน 20 ข้อ และตอนที่ 3 ทดสอบความสามารถในการนำสำนวนไปใช้ จำนวน 20 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ในสำนวนไทย ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ สำนวน ที่นักศึกษารู้ความหมายมากที่สุดคือ สำนวนตีวัวกระทบคราด ขายผ้าเอาหน้ารอด และชักหน้าไม่ถึงหลัง ตามลำดับ และสำนวนที่นักศึกษา ไม่รู้ความหมายมากที่สุดคือ สายป่านยาว หัวเรือใหญ่ และพระมาลัยมาโปรด ตามลำดับ ความเข้าใจในสำนวนไทย ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ สำนวนที่นักศึกษาเข้าใจ ได้ตรงตามสถานการณ์มากที่สุดคือ สำนวนขิงก็ราข่าก็แรง คลื่นกระทบฝั่ง และพูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง ตามลำดับ และสำนวน ที่นักศึกษาเข้าใจไม่ตรงตามสถานการณ์มากที่สุดคือ สำนวนแจงสี่เบี้ย เอามือซุกหีบ และช้างสาร งูเห่า ข้าเก่า เมียรัก ตามลำดับ ความสามารถในการนำสำนวนไปใช้ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่สำนวน ที่นักศึกษาใช้ได้ถูกต้องตามบริบทมากที่สุด คือก้นหม้อยังไม่ทัน ไกลปืนเที่ยง และไก่แก่แม่ปลาช่อน ตามลำดับ และสำนวนที่นักศึกษาใช้ ไม่ถูกต้องตามบริบทมากที่สุด คือไฟไหม้ฟาง เกี่ยวแฝกมุงป่า และชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสาร ตามลำดับ
URI: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/6285
ISBN: 978-974-474-073-1
Appears in Collections:4.02 บทความวิจัย

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-6th RUNIRAC Proceedings (219-227).pdf323.09 kBAdobe PDFView/Open
2563-6th RUNIRAC Proceedings (Cover).pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.