Please use this identifier to cite or link to this item: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/6182
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมูฮำหมัดสุกรี หะยีสะนิ-
dc.contributor.authorนิปัทมา การะมีแน-
dc.contributor.authorวรเวทย์พิสิษ ยศศิริ-
dc.date.accessioned2022-06-01T05:29:21Z-
dc.date.available2022-06-01T05:29:21Z-
dc.date.issued2560-05-03-
dc.identifier.urihttp://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/6182-
dc.description.abstractปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเรียนการสอนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้จะช่วยให้อาจารย์ผู้สอนและผู้เรียนมีอิสระในการเลือกรับข้อมูล เพราะการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลมิได้จำกัดเพียงแค่ในห้องเรียนเท่านั้น แต่เป็นการเรียนรู้ที่ไร้ขอบเขตและทันสมัยมากขึ้น อย่างไรก็ตามการเลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อการส่งเสริมทักษะการเรียนการสอนภาษาอังกฤษนั้น ต้องคำนึงถึงศักยภาพของผู้เรียนและความเหมาะสมของเทคโนโลยีในแต่ละทักษะ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษด้วยเครื่องมือเทคโนโลยีมีประสิทธิภาพมากขึ้น วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษารูปแบบการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีที่นำมาใช้ส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษ และเพื่อศึกษาเจตคติของอาจารย์สาขาภาษาอังกฤษต่อการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีในการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยชิ้นนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 30 คน และอาจารย์ผู้สอนรายวิชาภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive samplings) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม ในขณะที่เจตคติของอาจารย์ผู้สอนภาษาอังกฤษต่อการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีในการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษนั้น เก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ และข้อมูลในส่วนของเจตคติของอาจารย์ผู้สอนวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพแบบบรรยาย ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ความเห็นว่าเทคโนโลยีสื่อประสมเป็นเครื่องมือเทคโนโลยีที่มีความนิยมในการส่งเสริมทักษะการฟังมากที่สุด รองลงมาคือโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ (smartphone) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายในการส่งเสริมทักษะการพูด เช่นเดียวกับทักษะการอ่าน ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกที่จะเสริมทักษะด้วยการใช้นิทานและบทกวีภาษาอังกฤษออนไลน์ เพราะสามารถเลือกระดับความยากง่ายได้ตรงตามความสามารถของตน ทั้งนี้สื่อสังคมออนไลน์ก็ยังเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมในการส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยฝึกเขียนเรื่องราวผ่านตัวอักษรแล้วเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ในด้านเจตคติของอาจารย์ผู้สอนต่อการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษนั้น มีผลไปในทางที่ดีและอาจารย์ผู้สอนพร้อมจะนำสื่อเทคโนโลยีมาปรับใช้ในชั้นเรียนถึงแม้ว่าจะไม่มีความเชี่ยวชาญในการใช้งาน ผลจากงานวิจัยชิ้นนี้สามารถเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษโดยใช้เครื่องมือเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาเป็นส่วนหนึ่งของสื่อการเรียนการสอน อีกทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาภาษาต่างประเทศอื่นๆ ได้อีกด้วยen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยทักษิณen_US
dc.relation.ispartofseriesการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 27 ประจำปี 2560 และการประชุมวิชาการระดับชาติด้านบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ ครั้งที่ 3;764-771-
dc.subjectเครื่องมือเทคโนโลยีen_US
dc.subjectภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศen_US
dc.subjectเจตคติen_US
dc.titleการศึกษารูปแบบการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีในการส่งเสริมทักษะการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลาen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:4.02 บทความวิจัย

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-TSU_Conference60_Proceeding Cover.pdf525.77 kBAdobe PDFView/Open
2560-TSU_Conference60_Proceeding 764-771.pdf124.32 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.