Please use this identifier to cite or link to this item: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/5229
Title: โครงการนำองค์ความรู้เรื่อง “แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่วรรณคดีพื้นบ้าน” สู่ชุมชน
Authors: สุรัสวดี นราพงศ์เกษม
สุพร สุนทรนนท์
เวคิน วุฒิวงศ์
Keywords: บริการวิชาการ
Issue Date: 14-Sep-2560
Publisher: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
Abstract: โครงการนำองค์ความรู้เรื่อง “แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและเผยแพร่วรรณคดีพื้นบ้าน” สู่ชุมชน เป็นโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณาจารย์สังกัดหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้รับการอนุมัติให้ดำเนิน โครงการโดยใช้งบประมาณแผ่นดิน จำนวน 23,445 บาท มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เรื่อง“แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่วรรณคดีพื้นบ้าน ด้วยการสาธิตกิจกรรมรักการอ่านรักการเล่า และการแสดงละครพื้นบ้าน แก่สถานศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น และรายวิชาการจัดทำหนังสือนิทานสำหรับเด็ก ซึ่งมีกิจกรรมสำคัญในโครงการ ดังนี้ 1. กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการผลิตละครเวทีสำหรับเยาวชน” ให้แก่นักศึกษาผู้เป็นคณะทำงานจำนวน 40 คน โดยวิทยากรจากภายนอกผู้เชี่ยวชาญด้านการละคร ในวันที่ 24 -25 ธันวาคม 2560 ณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2. กิจกรรม “รักการอ่านรักการเล่าและการแสดงละครพื้นบ้าน” จำนวน 4 ครั้ง ใน สถานศึกษาจำนวน 4 แห่ง คือ 1) โรงเรียนเทศบาล 4 (ธนวิถี) จังหวัดยะลา 2) โรงเรียนไทยรัฐวิทยา(ชุมชนบ้านต้นไพ) จังหวัดปัตตานี 3) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 4) โรงเรียนเทศบาล 6(ถนนโคกเคียน) จังหวัดนราธิวาส การดาเนินโครงการ นำองค์ความรู้เรื่อง “แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่วรรณคดีพื้นบ้าน” สู่ชุมชน บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้ ได้เผยแพร่องค์ความรู้เรื่อง“แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่วรรณคดีพื้นบ้าน” ด้วยการสาธิตกิจกรรมรักการอ่านรักการเล่า และการแสดงละครพื้นบ้านแก่สถานศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 4 แห่ง โดยมีนักเรียนเข้าร่วมโครงการจานวน 300 คน และนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทยจานวน 40 คน เป็นผู้ปฏิบัติงานในโครงการ การประเมินผลโครงการพบว่า มีระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.28 คิดเป็นร้อยละ 85.60 และพบว่าเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม/โครงการอยู่ในระดับดี นับว่าสถานศึกษาได้มีโอกาสเพิ่มพูนประสบการณ์การจัดการเรียนรู้โดยเทคนิคการละครและหนังสือนิทาน ซึ่งสามารถนำไปบูรณาการการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ด้าน วรรณคดี การใช้ภาษาและสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้นักศึกษาผู้ร่วมปฏิบัติงานได้มีโอกาสพัฒนาตนเองในรายวิชาเรียนและได้เตรียมความพร้อมต่อการเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในวาระต่อไป
URI: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/5229
Appears in Collections:4.03 บริการวิชาการ



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.