Please use this identifier to cite or link to this item: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/4386
Title: การพัฒนาวิสาหกิจขนาดย่อมจังหวัดชายแดนใต้ ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์
Other Titles: The Development of Southern Border Small Enterprises in Creative Economy Form
Authors: อัปสร อีซอ
กนกวรรณ กาญจนธานี
ปวีณา เจะอารง
รุซณี ซูสารอ
Keywords: เศรษฐกิจสร้างสรรค์
วิสาหกิจขนาดย่อม
การพัฒนา
Issue Date: 2017
Publisher: วารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาวิสาหกิจขนาดย่อมจังหวัดชายแดนใต้ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ลักษณะเป็นงานวิจัยและพัฒนาที่ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การปฏิบัติการพัฒนา และการสัมภาษณ์เจาะลึก ซึ่งจากการรับสมัครวิสาหกิจขนาดย่อมที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 ธุรกิจ มี 3 ธุรกิจที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการวิจัยฯ จำแนกรายจังหวัดได้ดังนี้ 1) ธุรกิจศรีปุตรี จังหวัดยะลา 2) ธุรกิจสะดาวาจังหวัดปัตตานี 3) ธุรกิจเซโก ฟาร์ม จังหวัดนราธิวาส ทั้งนี้การพัฒนากำหนดแบบแผนการวิจัยไว้ 3 ระยะ ประกอบด้วยระยะการวางแผนพัฒนา การดำเนินงานพัฒนา และการสรุปผลการพัฒนา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาวิสาหกิจขนาดย่อมจังหวัดชายแดนใต้ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สามารถแบ่งการทำงานเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1) การสร้างความคิดสร้างสรรค์ โดยการศึกษาถึงภูมิปัญญา ความถนัด ความเชี่ยวชาญเดิมของธุรกิจหรือผู้ประกอบการเป็นหลัก ควบคู่กับการค้นหาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจที่โดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งขันซึ่งเป็นที่ยอมรับของภาคีผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย อาทิ ผู้ผลิต คนกลาง ลูกค้า 2) การใช้ประโยชน์จากความคิดสร้างสรรค์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ตามอัตลักษณ์ที่กำหนด ทั้งนี้สิ่งที่พัฒนาอาจเป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์ ตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ ตลาดเป้าหมาย ราคา การส่งเสริมการตลาดฯลฯ พร้อมผลักดันไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ก่อให้เกิดยอดขายและกำไรเพิ่ม ทั้งนี้ 3 วิสาหกิจขนาดย่อมที่ได้รับการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจได้ 10%-30% รวมถึงผู้ประกอบการมีความพอใจในความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์
URI: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/4386
Appears in Collections:2.01 บทความวิจัย

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
document (9).pdf559.55 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.