Please use this identifier to cite or link to this item: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/6263
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชุติมา คำแก้ว-
dc.contributor.authorวรากร แซ่พุ่น-
dc.date.accessioned2022-08-02T06:00:59Z-
dc.date.available2022-08-02T06:00:59Z-
dc.date.issued2563-09-10-
dc.identifier.citationhttps://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/239884en_US
dc.identifier.issn2651-0863-
dc.identifier.urihttp://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/6263-
dc.description.abstractการจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมดิวอี้เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายของงานห้องสมุดส่งผลให้บรรณารักษ์ทุกคนต้องเรียนรู้ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือในระบบดังกล่าว นอกจากนั้นยังกำหนดให้เป็นวิชาหนึ่งหรือส่วนหนึ่งของวิชาสำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษาที่จะต้องเรียนรู้และฝึกใช้ให้เป็น อันจะเป็นเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ให้สะดวกมากขึ้น หากห้องสมุดอันเป็นแหล่งทรัพยากรในการเรียนรู้ที่สำคัญขาดระบบในการจัดหมวดหมู่หนังสือที่เหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้เกิดอุปสรรคในการสืบค้นอย่างมหาศาลทีเดียว สิ่งสำคัญของการจัดระบบทศนิยมดิวอี้คือช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดและเจ้าหน้าที่ห้องสมุดสามารถค้นหาหนังสือที่ต้องการได้ง่ายและประหยัดเวลา เพราะเมื่อมีการจัดหมู่หนังสืออย่างเป็นระบบที่สันหนังสือทุกเล่มจะมีเลขหมู่หนังสือ ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถค้นหนังสือได้โดยเปิดดูเลขจากฐานข้อมูลแล้วตรงไปหาหนังสือจากชั้นได้อย่างรวดเร็ว เจ้าหน้าที่ห้องสมุดก็สามารถจัดเก็บหนังสือขึ้นได้ถูกต้องและรวดเร็ว อีกทั้งหนังสือที่มีเนื้อหาวิชาอย่างเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกันจะรวมอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีโอกาสเลือกหนังสือเนื้อเรื่องที่ต้องการจากหนังสือหลาย ๆ เล่มได้อย่างรวดเร็ว โดยหนังสือที่มีเนื้อเรื่องสัมพันธ์กันจะอยู่ใกล้ ๆ กัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านสามารถหาหนังสือที่มีเรื่องราวเหมือนกันมาประกอบเนื้อหาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ช่วยให้ทราบว่ามีจำนวนหนังสือในแต่ละหมวดมากน้อยเพียงใด และเมื่อได้หนังสือมาใหม่เข้าห้องสมุด ก็สามารถจัดหมวดหมู่ แล้วนำออกขึ้นชั้นรวมกับหนังสือที่มีอยู่ก่อนแล้วเพื่อให้บริการได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้หากการจัดระบบหนังสือดังกล่าวไม่เป็นตามระบบก็จะส่งผลต่อการใช้บริการและการค้นหาหนังสือภายในห้องสมุดที่มีความยุ่งยาก ค้นหาเท่าไหร่ก็ไม่เจอ และครูที่ดูแลห้องสมุดเองก็ไม่สามารถที่เช็คหนังสือในห้องสมุดว่ามีจำนวนเท่าไหร่และผู้ใช้ต้องการหนังสือประเภทไหน เมื่อผู้ใช้บริการได้เข้าห้องสมุดแล้วค้นหนังสือที่ต้องการไม่เจอก็เลยเกิดความเบื่อหน่าย สำหรับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติที่ผ่านอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ เมื่อศึกษาถึงสภาพของแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนยังประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดหมู่หนังสือที่เหมาะสม รวมทั้งการจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมของดิวอี้คือ ครูที่รับผิดชอบงานห้องสมุดยังขาดความรู้ ความเข้าใจเนื่องจากไม่ได้สำเร็จการศึกษามาโดยตรงทางด้านบรรณารักษ์ แม้บางคนจะผ่านการเรียนมาบ้าง แต่ก็ยังไม่สามารถจัดระบบหนังสือในห้องสมุดได้อย่างถูกต้องเหมาะสมทำให้ห้องสมุดไม่ได้มาตรฐาน จากสภาพปัญหาดังกล่าว จึงหาแนวทางในการช่วยครูบรรณารักษ์ให้สามารถพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นการเสริมสร้างการใช้ห้องสมุดส่งเสริมการอ่านส่งผลให้เกิดให้ผลสัมฤทธิ์ทางเรียนที่สูงขึ้น แต่เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นทำให้การเข้าไปให้คำแนะนำแก่ครูเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ควรมีการผลิตสื่อที่ครูสามารถเข้าถึงได้ง่าย สามารถศึกษาที่ไหน เวลาใดก็ได้และเห็นว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะเป็นสื่อที่สามารถบันทึกข้อมูลในรูปของอิเล็กทรอนิกส์สามารถใส่ข้อมูลได้หลายรูปแบบ ในลักษณะเป็นสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลตัวอักษร (Text) รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหวเสียง ดังนั้นจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความรู้ให้กับครูดังกล่าว เนื่องจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีประโยชน์หลายประการ คือเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ครูสามารถศึกษาได้ง่าย สะดวกสบายต่อการศึกษา มีภาพและดาวน์โหลดเป็นแอปพลิเคชันเรียนรู้ผ่านมือถือได้ ซึ่งสามารถศึกษาได้ด้วยตนเองได้ทุกที่ ทุกเวลาตามความต้องการ สามารถดูซ้ำ กลับไปกลับมากี่ครั้งก็ได้en_US
dc.publisherวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาen_US
dc.relation.ispartofseriesปีที่ 15 ฉบับที่ 3;402-411-
dc.subjectหนังสืออิเล็กทรอนิกส์en_US
dc.subjectการจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมดิวอี้en_US
dc.subjectครูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้en_US
dc.titleการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมดิวอี้ สำหรับการใช้งานห้องสมุดโรงเรียนในท้องถิ่นของครูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้en_US
dc.title.alternativeThe Development of Electronic Books on the Dewey Decimal Classification for Library Usage in Local Schools of Teachers in the Three Southern Border Provincesen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:4.02 บทความวิจัย

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-J.YRU 15(3) 402-411.pdf480.39 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.