Abstract:
การวิจัยเรื อง “นวัตกรรมการเรียนรู้ละครสร้างสรรค์สองภาษา” มีวัตถุประสงค์เพื อ 1) สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้วรรณกรรมท้องถิ นชายแดนใต้ในรูปละครสร้างสรรค์สองภาษา 2) พัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษา วรรณกรรม และการจัดกิจกรรมทางการศึกษาของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ชั้นปีที 4 ที ลงทะเบียนเรียนวิชาวรรณกรรมท้องถิ น ในภาคการศึกษาที 2/2561 วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยในชั้นเรียนเชิงทดลอง โดยอาศัยแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบทวิภาษาและแนวคิดเรื องสหบทในวรรณกรรมสร้างละครและทดลองเผยแพร่ ประเมินผลจากผู้เรียนและผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมด้วยการประมวลผลจากการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview)
แบบทดสอบอัตนัย (subjective test) และการประเมินจากสภาพจริง (Authentic Assessment) ได้ผลการศึกษาดังนี้
1) ได้สร้างละครสร้างสรรค์สองภาษาจ่านวน 3 เรื อง ประกอบด้วย (1) ละครจากนิทานสัตว์เรื อง แอกอแปแนะ แอกอปาแญ (หางฉันสั้นหางฉันยาว) (2) ละครจากนิทานประจ่าถิ น เรื องต่านานทวดกุหล ่า และ (3) ละครจากนิทานชีวิตเรื อง บินตังบาติก
2) ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษา วรรณกรรม และการจัดกิจกรรมทางการศึกษาดังนี้
2.1) ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาไทยและภาษามลายูถิ น โดยสามารถเรียบเรียงการใช้ภาษาไทยผสมผสานการใช้ภาษามลายูถิ นเพื อการแสดงละครได้อย่างเหมาะสม
2.2) ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้วรรณกรรมท้องถิ น ได้ซึมซับอรรถรสของวรรณกรรมและได้เรียนรู้สภาพสังคม วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ น ผ่านวรรณกรรม
2.3) ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะกิจกรรมทางการศึกษาในรูปการแสดงละคร เพื อส่งเสริมการเรียนรู้วรรณกรรมท้องถิ นในชุมชน
ผลจากการจัดกิจกรรมท่าให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการสร้างสรรค์ของตนเอง และภาคภูมิใจที ได้เผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน