Please use this identifier to cite or link to this item: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/6519
Title: สำนวนไทยนอกรูปแบบในละครซิทคอม เรื่องเป็นต่อ
Other Titles: Non-formative Thai Idioms in “Pen Tor” Sitcom
Authors: สุไลมาน มะตีเยาะ
อัสมะห์ มะยี
แวแยน๊ะ หะยีสาแม
อามาน อีแต
สวพร จันทรสกุล
Keywords: สำนวนไทยนอกรูปแบบ
ละครซิทคอมเรื่องเป็นต่อ
Issue Date: 22-May-2562
Publisher: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
Series/Report no.: การประชุมวิชาการระดับชาติทางด้านภาษาไทยและวัฒนธรรมศึกษา ระดับปริญญาตรี ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “พลังอำนาจแห่งภาษาในมิติวัฒนธรรม”;134-149
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้เป็นการวิเคราะห์สำนวนไทยนอกรูปแบบในละครซิทคอมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมสำนวนไทยนอกรูปแบบจัดประเภทของสำนวนไทยนอกรูปแบบ 2) วิเคราะห์ความหมายและความ เป็นมาของสำนวนไทยนอกรูปแบบการวิจัยครั้งนี้ จะศึกษาสำนวนไทยนอกรูปแบบที่ปรากฏในละครซิทคอม เรื่องเป็นต่อ ซึ่งออกอากาศทุกวันพฤหัสบดี เวลา 22.20 น.ตั้งแต่เดือนมกราคมพ.ศ. 2560 - กรกฎาคมพ.ศ. 2561 รวมจำนวนทั้งสิ้น 75 ตอน ผลจากการวิจัยรวบรวมสำนวนไทยนอกรูปแบบที่ปรากฏในละครซิทคอม เป็นต่อปรากฏ จำนวน 29 สำนวน และจัดแบ่งประเภทได้ 3 ประเภท ได้แก่ 1.สำนวนที่มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำ แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1.1 สำนวนที่มีการเพิ่มคำ ตัดคำ และล าดับคำใหม่ จำนวน 26 สำนวน 1.2 สำนวนที่มี ความหมายของคำเหมือนหรือใกล้เคียงกัน จำนวน 3 สำนวน 2.สำนวนที่มีการเปลี่ยนแปลงความหมาย มี 4 ประเภท ดังนี้ 2.1 สำนวนที่มีความหมายแคบลง จำนวน 20 สำนวน 2.2 สำนวนที่มีความหมายอื่น จำนวน 5 สำนวน 2.3 สำนวนที่มีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิม จำนวน 3 สำนวน และ2.4 สำนวนที่มี ความหมายขยายกว้างออกไปจากสำนวนเดิม จำนวน 1 สำนวน 3.สำนวนตามลักษณะเนื้อหาของสำนวนไทย นอกรูปแบบมี 4 ประเภท ดังนี้ 4.1 สำนวนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะนิสัย กิริยาอาการ และพฤติกรรมของคน จำนวน 18 สำนวน 4.2 สำนวนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคุณธรรมและคำสอนต่าง ๆ จำนวน 5 สำนวน 4.3 สำนวนที่ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพูด และการฟัง จำนวน 3 สำนวน และ4.4 สำนวนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับรูปร่าง หน้าตา และ ผิวพรรณของคน จำนวน 2 สำนวน ส่วนผลการวิเคราะห์ความหมายและความเป็นมาของสำนวนไทยนอก รูปแบบ วิเคราะห์ในประเด็นสำนวนใหม่ สำนวนเดิม ความหมายสำนวนใหม่ ความหมายสำนวนเดิม วิเคราะห์ ความหมายและที่มาของสำนวน อาทิเช่น สำนวน “หนีเสือปะตัวเหี้ย” สำนวนเดิม “หนีเสือปะจระเข้”, “พูดดี โรยเกลือ” สำนวนเดิม “ผักชีโรยหน้า”
URI: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/6519
Appears in Collections:4.02 บทความวิจัย

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2562-2nd TSU Thai and culture proceeding (134-149).pdf365.64 kBAdobe PDFView/Open
2562-2nd TSU Thai and culture proceeding (cover).pdf796.3 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.