Please use this identifier to cite or link to this item: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/6508
Title: สภาพการใช้ภาษาไทยในการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์เฟซบุ๊กของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ใช้ภาษามลายูถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
Other Titles: An Investigation Study of Thai Language Used via Online Media Facebook of Student in Faculty of Humanities and Social Sciences which use Malay Dialect Language, Yala Rajabhat University
Authors: สวพร จันทรสกุล
ขวัญตา ทวีสุข
ซูไรดา เจะนิ
ปองทิพย์ หนูหอม
โสภณ พฤกษวานิช
Keywords: เฟซบุ๊ก
การปนของภาษามลายูถิ่นในภาษาไทย
ภาษาไทยในการสื่อสาร
Issue Date: Feb-2017
Publisher: วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
Citation: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/130542
Series/Report no.: ปีที่ 12 ฉบับที่ Suppl. (2017): ฉบับพิเศษเดือนกุมภาพันธ์;27-41
Abstract: การวิจัยเรื่อง สภาพการใช้ภาษาไทยในการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์เฟซบุ๊กของนักศึกษา ที่ใช้ภาษามลายูถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการใช้ ภาษาไทยในเฟซบุ๊กของนักศึกษามุสลิม มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2) เพื่อศึกษาลักษณะการ ปนของภาษามลายูในภาษาไทยในเฟซบุ๊กของนักศึกษาเชื้อสายมลายู มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาสายภาษาได้แก่สาขาวิชาภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ และภาษามลายู สาขาละ 10 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน และข้อความบนกระดานสนทนาเฟซบุ๊ก ของนักศึกษา เครื่องมือที่ใช้แบบสำ รวจความคิดเห็นในการใช้ภาษาในการสื่อสารของนักศึกษา มุสลิม และแบบบันทึกการสัมภาษณ์ ผลการศึกษา พบว่า คำ ที่เขียนผิดมากที่สุด เป็นคำ ทับ ศัพท์ภาษาอังกฤษ ได้แก่ ไลก์ (like) อินบ็อกซ์ (inbox) แธงค์ไลค์ (thank like) และแฮพพี เบิร์ดเดย์ทูยู (Happy birthday to you) คิดเป็นร้อยละ 100 กล่าวคือนักศึกษาเขียนผิดทุกคน และพบว่า คำ บางคำ ในรูปคำ ภาษาไทย นักศึกษามักเติม “ห์” ท้ายคำ เนื่องจากภาษามลายู เมื่อแปรเป็นเสียงที่เกิดจากฐานกรณ์ช่องว่างระหว่างเสียง /h/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น malas (เกียจคร้าน) เขียนเป็น มาละฮ จึงทำ เกิดความสับสนต่อการใช้ภาษาไทยมาตรฐาน ต่อมา ลักษณะการปนของภาษามลายูในภาษาไทย พบว่า การใช้ภาษามลายูปนในภาษาไทย มีรูปประโยคตรงตามหลักไวยากรณ์ภาษามลายู แต่เมื่อถอดความเป็นภาษาไทยกลับพบว่า ไม่ตรงตามหลักไวยากรณ์ไทย การปนภาษามลายูในภาษาไทยจะใช้คำ ที่แปลตามตัว อาจ เนื่องจากวัฒนธรรมที่แตกต่างของการใช้ภาษาในการแปลถ้อยคำ ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาไทย แบบตรงตัว จึงทำ ให้เกิดรูปประโยคที่ไม่สมบูรณ์ เกิดความผิดพลาดในการสื่อสารได้
URI: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/6508
ISSN: 1905-2383
Appears in Collections:4.02 บทความวิจัย

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-J.YRU 12(special) 27-41.pdf342.84 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.