DSpace Repository

การศึกษาภาพเขียนสีโบราณเขายาลอ ตำบลยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

Show simple item record

dc.contributor.author มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
dc.date.accessioned 2023-08-31T08:25:15Z
dc.date.available 2023-08-31T08:25:15Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/6901
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์พื้นที่เขายาลอ ตำบลยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 2) เพื่อสร้างสรรค์งานการแสดง โดยใช้ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์เขายาลอ ตำบลยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 3) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ สินค้าการบริการ ในพื้นที่เขายาลอ ตำบลยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา จำนวน 1 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมจำนวน 1 คน และวิทยากรในท้องถิ่นจำนวน 1 คน กลุ่มเป้าหมาย คือ ชาวบ้านชุมชนบ้านยะลา และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ในพื้นที่ ศิลปะการแสดง ศิลปวัฒนธรรม ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์พื้นที่เขายาลอ ตำบลยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ภาพเขียนสีโบราณนั้น พบแหล่งภาพเขียนสีบนผนังหินของเขายะลา 4 จุด คือ 1. ภาพเขียนสีแดงบริเวณเพิงผาตอแล หรือตอลัง ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเขายะลา 2. ภาพเขียนสีดำบริเวณโพรงถ้ำด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเขายะลา 3. ภาพเขียนสีแดงบริเวณเพิงผาด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขายะลา 4. ภาพเขียนสีบริเวณด้านทิศใต้ของเขายะลา ซึ่งภาพเขียนสีโบราณที่พบ เขียนด้วยสีแดง โดยส่วนใหญ่เป็นลายเส้นตรง ลายจุด วงกลม รูปวิถีชีวิตในสมัยก่อน และรูปสัตว์ เพื่อเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงงานสร้างสรรค์ของในอดีต ซึ่งมีวิถีชีวิตที่สัมพันธ์กับธรรมชาติ สภาพแวดล้อมที่เป็นป่าภูเขา และอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี 2) การแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ชุด “ยาลอ” มีรูปแบบการแสดงเป็นนาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ ประยุกต์ ได้แนวความคิดในการประดิษฐ์ท่ารำและการแปลแถว มาจากเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และภาพเขียนสีเขายาลอ ตำบลยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยแบ่งช่วงการแสดงออกเป็น 2 ช่วง คือ การแสดงช่วงที่ 1 สื่อถึงเรื่องราววิถีชีวิตของคนในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีการล่าสัตว์ การต่อสู้ การเดินทาง การขอพร เพื่อความอยู่รอด การแสดงช่วงที่ 2 สื่อถึงการนำภาชนะ มาใช้ในวิถีชีวิต การเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาม และการอยู่ร่วมกันการแปรแถวและการแบ่งกลุ่มท่ารำ โดยการแต่งกายมีการใช้ลายผ้าที่ถอดแบบออกมาจากภาพเขียนสีโบราณเขายาลอ 3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกพิมพ์ลายเขายาลอ ได้จากการถอดลวดลายจากภาพเขียนสีโบราณเขายาลอ และนำมาออกแบบ จำนวน 5 ลาย และทำการประเมินความพึงพอใจจากต้นแบบผ้าบาติกพิมพ์ลายเขายาลอ พบว่า ความพึงพอใจในงานออกแบบ ต้นแบบผ้าบาติกพิมพ์ลายเขายาลอลาย A และ B สามารถนำมาพัฒนาเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกพิมพ์ลายเขายาลอต่อไป en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
dc.subject ภาพเขียนสีโบราณ en_US
dc.subject โบราณคดี en_US
dc.subject โบราณสถาน en_US
dc.subject สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ en_US
dc.title การศึกษาภาพเขียนสีโบราณเขายาลอ ตำบลยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account