Abstract:
โครงการวิจัยเรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จ
และแม่นยำจังหวัดยะลา” เป็นโครงการที่ตอบสนองต่อสถานการณ์เชิงพื้นที่จังหวัดยะลา
ในบริบทสังคมพหุภาษาพหุวัฒนธรรม ซึ่งมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 538,608 คน จากจำนวน
8 อำเภอ 58 ตำบล (สำนักบริหารการทะเบียน,กรมการปกครอง,2562) และมีจำนวนคนจน
20,298 คน จากประชากรที่สำรวจ 318,895 คน จากข้อมูลของฐานข้อมูล Thai People Map and
Analytics Platform หรือ TPMAP โดยโครงการมีโจทย์และเป้าหมายสอดคล้องกับกรอบแผนงาน
ที่มุ่งสร้างแพลตฟอร์มแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป้าหมายสำคัญ คือ การสร้างระบบและกลไกการแก้ปัญหา
ความยากจนระดับพื้นที่และเชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มส่วนกลาง (Practical Proverty Platform)
ด้วยบริบทความเป็นสังคมพหุภาษา พหุวัฒนธรรม ที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้
ภาษาไทยเป็นภาษาที่ 1 แต่ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาที่ 1 หรือ ภาษาแม่ มีภาษาไทยเป็น
ภาษาที่ 2 และมีภาษาอื่น ๆ เช่น ภาษามลายูกลาง ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาจีน เป็นลักษณะสังคม
ทวิ - พหุภาษา สถานการณ์ด้านภาษาส่งผลต่อ การพัฒนาเชิงพื้นที่มาโดยตลอด ประกอบกับ
สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 เป็นต้น มาส่งผลต่อ
การพัฒนาเชิงพื้นที่ทำให้จังหวัดยะลา เป็นจังหวัดที่มีดัชนีความก้าวหน้าของคน (Human
Achievement Index : HAI) อยู่ในลำดับที่ 69 จาก 77 จังหวัดในปี2562 (สำนักงานสภาพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2562