Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการใช้การสื่อสาร เปรียบเทียบรูปแบบการใช้การสื่อสาร องค์ประกอบ
สมรรถนะการสื่อสาร และศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารในการปฏิบัติงานของนายกองค์การบริหารส่วนต าบลในสาม
จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้บริหารฝ่ายการเมือง
พนักงานส่วนต าบล ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชนในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส รวมจ านวน 82 คน โดยใช้แบบ
สัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสัมภาษณ์กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการใช้การสื่อสาร
ในการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสื่อสารเพื่อการบริหารองค์กร การเปิดรับและแสวงหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการตัดสินใจ การถ่ายทอดและ
ประชาสัมพันธ์ข่าวสารไปสู่ประชาชนในชุมชน การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการด าเนินพันธกิจขององค์กร การสร้าง
ความสัมพันธ์กับประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน การสื่อสารเพื่อบ าบัดทุกข์บ ารุงสุขประชาชน การสื่อสารด้วยการสร้าง
ผลงาน และการสื่อสารเพื่อรักษาฐานเสียงทางการเมือง
การเปรียบเทียบรูปแบบการใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงาน พบว่า ประสบการณ์ทางการบริหาร คุณวุฒิการศึกษา
ทัศนคติและความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารและทักษะการสื่อสารเฉพาะบุคคล ส่งผลให้นายกองค์การบริหารส่วนต าบลมีการใช้กลยุทธ์
การสื่อสารที่แตกต่างกัน 6 กลยุทธ์คือ กลยุทธ์รู้เขารู้เราเท่าทันเทคโนโลยีกลยุทธ์เข้าใจเข้าถึงพึ่งพาได้24 ชั่วโมง กลยุทธ์สื่อสาร
คุณธรรมน าการพัฒนา กลยุทธ์สื่อสารผสานพลังทีมงาน กลยุทธ์สื่อสารประสานสัมพันธ์และ กลยุทธ์สื่อสารสมานฉันท์ชุมชน
องค์ประกอบสมรรถนะการสื่อสาร ได้แก่ สมรรถนะหลัก ด้านการพูดและน าเสนอ การฟัง บุคลิกภาพ การสร้าง
ความสัมพันธ์ การสร้างภาพลักษณ์ การสร้างช่องทางการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสื่อสารใหม่ และสมรรถนะเฉพาะเชิงพื้นที่ที่
ปฏิบัติงาน ด้านการเป็นแบบอย่างผู้น าในวิถีอิสลาม และการสื่อสารในสังคมพหุวัฒนธรรมและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการ
สื่อสาร ได้แก่ ด้านประเด็นเนื้อหาการพัฒนาเกี่ยวกับกลยุทธ์การสื่อสาร การสร้างภาพลักษณ์ บุคลิกภาพส าหรับผู้น าท้องถิ่นยุคใหม่
การพูดต่อหน้าชุมชน การสื่อสารในภาวะวิกฤติ และการเท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล และด้านรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ ได้แก่ การ
ฝึกอบรมปฏิบัติการ การสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การถอดบทเรียนความส าเร็จ และการศึกษาดูงานองค์กรที่ผู้น าท้องถิ่นมี
สมรรถนะการสื่อสารระดับสูง