dc.contributor.author | นัทที ขจรกิตติยา | |
dc.date.accessioned | 2021-12-22T06:45:59Z | |
dc.date.available | 2021-12-22T06:45:59Z | |
dc.date.issued | 2007 | |
dc.identifier.uri | http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/4534 | |
dc.description.abstract | จากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจประเทศไทยในปี พ.ศ 2540 ทำให้รัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ เริ่มให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับ เศรษฐกิจฐานราก โดยการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ธุรกิจชุมชนเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นโดยใช้วิถีชีวิตภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในชุมชนนั้น มาก่อให้เกิดประโยชน์ในรูปของการดำเนินกิจกรรมของชุมชน ดังนั้นบทความนี้จึงได้รวบรวมแนวคิดในการจัดตั้งธุรกิจชุมชนเพื่อที่จะได้ทราบขั้นตอนต่างๆ ของการจัดตั้ง ปัญหาและความต้องการของชุมชน ปัจจัยที่ทำให้การดำเนินธุรกิจชุมชนประสบความสำเร็จ รวมทั้งแนวทางในการพัฒนาธุรกิจชุมชนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้การดำเนินธุรกิจดำเนินไปด้วยความมั่นคงและยั่งยืน โดยปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการจัดตั้งธุรกิจชุมชนคือ ผู้นำ โดยจะต้องมีผู้นำที่ประสานความคิด และการทำงานของคนในชุมชนเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันภายใต้หลักการ ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันรับประโยชน์ แต่ทั้งนี้การดำเนินธุรกิจชุมชนจะดำเนินไปด้วยความมั่นคงได้ จะต้องมีผู้นำที่มีคุณลักษณะที่ดีและมีการแสวงหาความรู้โดยอาศัยการสนับสนุนและความร่วมมือจากนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาในท้องถิ่น ภาครัฐ และภาคเอกชนรวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์จากชุมชนอื่น ทั้งนี้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์ มีคุณธรรมและจริยธรรมทางธุรกิจ ภายใต้กรอบแนวคิดเศรษฐกิจที่ยึดหลักความพอเพียงและมีเหตุผล เพื่อพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง และสามารถรองรับกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นอนาคต | en_EN |
dc.publisher | วารสาร มหาวิทยาลัย ราชภัฏ ยะลา | en_EN |
dc.title | การจัดการธุรกิจชุมชน : แนวทางสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน | en_EN |