Please use this identifier to cite or link to this item: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/5390
Title: ความต้องการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาห้องสมุด โรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดยะลา
Other Titles: Needs of Academic Services for Developing The Primary School Libraries in the Yala Provinces
Authors: บุปผา ไชยแสง
นูรีดา จะปะกียา
จารุณี การี
ชุติมา คำแก้ว
ชินวัจน์ งามวรรณากร
Keywords: พัฒนาห้องสมุด
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพของห้องสมุด 2) ศึกษา ความต้องการบริการวิชาการของครูบรรณารักษ์และผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ในการพัฒนาห้องสมุด ทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ด้านรูปแบบ เนื้อหา เครื่องมืออุปกรณ์ สถานที่ วัน ระยะเวลา และด้านการ ประชาสัมพันธ์ รวมทั้งปัญหาในการเข้าร่วมกิจกรรมบริการวิชาการ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของ ผู้บริหาร ในการสนับสนุนให้ครูบรรณารักษ์และผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ของโรงเรียนประถมศึกษา อาเภอเมือง จังหวัดยะลา เข้าร่วมกิจกรรมบริการวิชาการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูบรรณารักษ์ และ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดยะลา เขต 1 จานวน 47 โรง รวมจานวน ทั้งสิ้น 71 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบสมมติฐานด้วย t-test และ One-Way ANOVA : F-test และการประมวลผล ข้อมูลที่ได้จากการให้ข้อเสนอแนะและปัญหา ผลการวิจัย มี 4 ประเด็น ดังนี้ 1. ข้อมูลทั่วไปของห้องสมุดกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่เป็นห้องสมุดขนาดเล็ก ( 1-2 ห้องเรียน) โดยมีบุคลากรที่มีตาแหน่งอื่น ๆ เช่น ครูประจาชั้น ครูดูแล/ครูผู้ช่วย เป็นผู้ปฏิบัติงานใน ห้องสมุดมากที่สุด มีทรัพยากรสารสนเทศเป็นหนังสือภาษาไทยมากที่สุด จานวน 1,500 – 2,000 เล่ม และส่วนใหญ่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านน้อยกว่า 10 ครั้งต่อปี 2. ระดับความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมบริการวิชาการเพื่อพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน ประถมศึกษาจังหวัดยะลา พบว่า ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสานักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 มีความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมบริการวิชาการ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อจาแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเครื่องมือ / อุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการอบรม ด้าน เนื้อหาหลักสูตรของกิจกรรมทางด้านห้องสมุด และด้านวันในการบริการวิชาการ มีความต้องการ มากกว่าด้านอื่นๆ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านสถานที่จัดกิจกรรมบริการวิชาการ และด้านการ II ประชาสัมพันธ์การบริการวิชาการมีความต้องการน้อยกว่าด้านอื่นๆ อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อ พิจารณาข้อที่มีความต้องการมากที่สุดในแต่ละด้าน พบว่า (1) ด้านรูปแบบของกิจกรรม ต้องการ ศึกษาดูงานในห้องสมุดโรงเรียนที่ได้มาตรฐานในประเทศ (2) ด้านเนื้อหาหลักสูตร ต้องการกิจกรรม ห้องสมุดมากกว่ากิจกรรมอื่น (3) ด้านเครื่องมืออุปกรณ์ ต้องการใช้สื่อรูปแบบต่างๆ ประกอบการจัด กิจกรรม (โดยการฝึกปฏิบัติจริง) เช่น สื่อ/อุปกรณ์การเล่านิทาน สื่อ/อุปกรณ์ประกอบการซ่อม หนังสือ (4) ด้านสถานที่ ต้องการให้จัดบริการวิชาการที่อุทยานการเรียนรู้ยะลา มหาวิทยาลัยราชภัฏ ยะลา เทศบาลนครยะลา และสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) (5) ด้านวันที่ จัดบริการ ต้องการให้จัดบริการวิชาการ วันจันทร์ – ศุกร์ (6) ด้านระยะเวลาที่จัดบริการ ต้องการเข้า ร่วมบริการวิชาการ จานวน 2 วัน และ (7) ด้านการประชาสัมพันธ์ต้องการให้ส่งจดหมายถึงโรงเรียน เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต และแจกใบปลิวและแผ่นพับที่โรงเรียนมากกว่าการประชาสัมพันธ์รูปแบบ อื่น ส่วนปัญหา และข้อเสนอแนะ ได้แก่ วิทยากรในการให้บริการวิชาการควรเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และเพิ่มกิจกรรมสันทนาการ การเน้นกิจกรรมฝึกปฏิบัติการ ส่วนข้อเสนอแนะอื่นๆ เช่น ควร กาหนดจานวนวันที่จัดบริการวิชาการที่เหมาะสมเพื่อความสะดวกของผู้เข้าร่วมกิจกรรม 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า (1) บรรณารักษ์และผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตาแหน่ง และประสบการณ์การปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน มีความต้องการเข้าร่วมกิจกรรม บริการวิชาการทุกด้านไม่แตกต่างกัน เนื่องจากบรรณารักษ์และผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ที่ต้องการเข้าร่วม กิจกรรมบริการวิชาการ มีสถานะเปนผูรับบริการ ยอมตองการการใหบริการที่มีคุณภาพและนาเชื่อถือ สามารถตอบสนองความตองการของผูรับบริการได รวมถึงการปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดยะลา ซึ่งบริบทสภาพแวดล้อมเหมือนกันและการบริหารสถานศึกษาที่อยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาเดียวกัน จึงส่งผลให้มีความต้องการไม่แตกต่างกัน (2) ผู้บริหารโรงเรียน มีความคิดเห็นในการสนับสนุนให้ครู บรรณารักษ์เข้าร่วมกิจกรรมบริการวิชาการ ไม่แตกต่างกัน เนื่องจาก ผู้บริหารเห็นว่า ครูบรรณารักษ์และ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด มีการปฏิบัติหน้าที่ในภาระงานที่รับผิดชอบเหมือนกัน จึงเห็นถึงความสาคัญ ของกิจกรรมโครงการพัฒนาตนเองในวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง และโอกาสในการแสวงหาความรู้ที่ เหมือนกัน 4. ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ด้านนโยบายและแนวทางการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน พบว่า มีการสนับสนุนงบประมาณสาหรับกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน มีนโยบายส่งเสริมให้บุคลากร ผู้รับผิดชอบงานด้านห้องสมุด ได้มีการพัฒนาตนเองในวิชาชีพสารสนเทศศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง ส่วนลักษณะของการจัดกิจกรรมบริการวิชาการที่ต้องการพบว่าต้องการให้หลักสูตรสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดบริการวิชาการเกี่ยวกับกิจกรรม ส่งเสริมการอ่าน การจัดระบบห้องสมุดอัตโนมัติ การจัดหมวดหมู่หนังสือ และรูปแบบการสอนโดย ใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้
URI: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/5390
Appears in Collections:4.05 วิจัย



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.