Please use this identifier to cite or link to this item: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/5387
Title: การพัฒนารูปแบบการส่งเสรมิการเรียนรู้ และการจัดการเรียนการสอนใน หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ที่มุ่งตอบสนองทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21: ศึกษากรณี หมวดรายวิชาเฉพาะ หลักสูตรรฐัประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Other Titles: Development of Encourage for Learning and Instruction Methods in the Public Administration Curriculum to Reach the 21st Century Learning Skills : A Case Study of Specialization Course, Public Administration Program, Faculty of Humanities and Social Science
Authors: ศิริลักษณ์ คัมภิรานนท์
สุปรีญา นุ่นเกลี้ยง
สุวิมล อิสระธนาชัยกุล
สุวิมล แซ่ก่อง
สุวิมล แซ่ก่อง
ศรินทร์ญา จังจริง
อิสยัส มะเก็ง
คมวิทย์ สุขเสนีย์
มุบดี อุเด็น
ชัยวัฒน์ โยธี
ปพน บุษยมาลย์
Keywords: การส่งเสริมการเรียนรู้
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
Abstract: การวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ และการจัดการเรียนการสอน ในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ที่มุ่งตอบสนองทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : ศึกษากรณี หมวดวิชา เฉพาะ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของ นักศึกษาในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ : ศึกษากรณี หมวดรายวิชาเฉพาะ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนารูปแบบ การส่งเสริมการเรียนรู้ และการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งตอบสนองทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาใน ศตวรรษที่ 21 : ศึกษากรณี หมวดรายวิชาเฉพาะ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ศึกษาคือนักศึกษาภาคปกติ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ชั้นปี 1 - ปี 4 โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณใช้การสำรวจกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 429 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การประชุมปฏิบัติการ การ ประชุมกลุ่มระดมสมองแบบประเมิน และแบบรายงานการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มผู้สอนในรายวิชา หมวดวิชาเฉพาะด้าน หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ การเก็บข้อมูลใช้การประสานเจ้าหน้าที่และตัวแทน ห้องดำเนินการ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนวิธีวิจัยเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงตรรกะสรุปเชื่อมโยง สรุปผลการวิจัย 1. ระดับสมรรถนะตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาในหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตร์ : ศึกษากรณี หมวดรายวิชาเฉพาะ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สมรรถนะของผู้เรียนตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมอยู่ระดับมาก (x=2.64) และเมื่ออธิบายเป็นรายด้าน พบว่า ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (x=2.75) มีค่า มากสุด รองลงมา คือ ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรมต่างกระบวนทัศน์ (x=2.75) ส่วนทักษะด้าน (2) คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (x=2.42) มีค่าน้อยสุด แต่เมื่อพิจารณาสมรรถนะ ของผู้เรียนตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นรายด้าน พบว่า ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creative & Innovation) ภาพรวมอยู่ระดับมาก (x=2.75) โดยเฉพาะประเด็นท่านท างานอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับผู้อื่น (x=2.97) มีค่ามากสุด ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรมต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural understanding) ภาพรวมอยู่ระดับมาก (x=2.75) โดยเฉพาะประเด็นท่านเคารพหรือยอมรับในความเห็นที่ต่างกันหรือ หลากหลายของผู้คนต่าง ๆ (x=2.95) มีค่ามากสุด ทักษะด้านการร่วมมือการท างานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaborative Teamwork & Leadership) ภาพรวมอยู่ระดับมาก (x=2.69) โดยเฉพาะประเด็นท่านมักจะร่วมมือท างานเรื่องต่าง ๆ กับ ผู้อื่น (x=2.95) มีค่ามากสุด ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา (Critical thinking & problem solving) ภาพรวมอยู่ระดับมาก (x=2.65) โดยเฉพาะประเด็นท่านคิดวิเคราะห์เปรียบเทียบ สิ่งต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจหรือลงมือท า (x=2.71) มีค่ามากที่สุด ทักษะด้านอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning skill) ภาพรวมอยู่ระดับ มาก (x=2.62) โดยเฉพาะประเด็นท่านมีความยืดหยุ่นในการใช้ชีวิตและสามารถปรับตัวกับสังคมต่าง ๆ (x=2.79) มีค่ามากสุด ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ (Communication,Information & Media literacy) ภาพรวมอยู่ระดับมาก (x=2.61) โดยเฉพาะประเด็นท่านเข้าใจและใช้ประโยชน์ด้าน เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนหรือส่งงาน (x=2.68) มีค่ามากสุด ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing & ICT Literacy) ภาพรวมอยู่ระดับมาก (x=2.42) โดยเฉพาะประเด็นท่านมีความรอบรู้เกี่ยวกับสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ ประกอบการเรียนการสอน (x=2.44) มีค่ามากสุด 2. แนวทางการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ และการจัดการเรียนการสอนที่มุ่ง ตอบสนองทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 : ศึกษากรณี หมวดรายวิชาเฉพาะ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พบว่า การออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งตอบสนองทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มากที่สุด คือทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (x=4.04) รองลงมาคือทักษะการ สร้างสรรค์และนวัตกรรม (x=3.29) และทักษะด้านการร่วมมือการท างานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (x=3.26) ส่วนทักษะที่มีค่าน้อยที่สุด คือ ทักษะด้าน Career and Learning skill (x=1.99) รองลงมา คือ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (x=2.64) รูปแบบวิธีการสอนที่วางแผนและมีคุณภาพของผลลัพธ์วิธีการสอนที่สอดคล้องกับทักษะการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ การสอนโดยการอธิบาย ถาม – ตอบ การมอบหมายงานกลุ่มให้นักศึกษา ร่วมกันศึกษาค้นคว้า/ฝึกปฏิบัติด้วยตนเองแล้วนำข้อมูลมาสะท้อนกลับ การสอนโดยใช้กรณีศึกษา/กรณี ตัวอย่าง และการสอนโดยใช้สื่อ/สารสนเทศมาอภิปราย/แลกเปลี่ยนความเห็น โดยทั้งนี้ การจัดการเรียน (3) การสอนผ่านรูปแบบกิจกรรมในห้องเรียน กิจกรรมเสริมรายวิชา และกิจกรรมเรียนรู้ด้วยตนเองได้เน้น ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหามากที่สุด สำหรับ การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนที่มุ่ง ตอบสนองทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 พบว่าควรเป็นกลยุทธ์ตามแต่ละทักษะการเรียนรู้ กล่าวคือ ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม และทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ มุ่งใช้กลยุทธ์เสริมจุดแข็งของสมรรถนะผู้เรียน ส่วนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา มุ่งใช้กลยุทธ์เพิ่มขยายจุดเน้น รวมทั้ง ทักษะด้านการร่วมมือ/การท างานเป็น ทีมและภาวะผู้นำ มุ่งใช้กลยุทธ์เสริมการวางแผนการเรียน แต่สำหรับทักษะด้านคอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ และทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อต่างมุ่งใช้กลยุทธ์แก้ไขจุดอ่อน
URI: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/5387
Appears in Collections:4.05 วิจัย



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.