Please use this identifier to cite or link to this item: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/5363
Title: ศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่ม ผู้สูงอายุบนพื้นฐานทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ : ศึกษากรณี เทศบาลตาบลยุโป อาเภอเมือง จังหวัดยะลา
Other Titles: Potential of Local Administration Organizations in Quality of Life Development for Elderly People Based on Southern Border Provinces Cultural Capital: A Case Study of Yupo Subdistrict Municipality
Authors: สุปรีญา นุ่นเกลี้ยง
ศิริลักษณ์ คัมภิรานนท์
Keywords: ศักยภาพ
การพัฒนาคุณภาพชีวิต
กลุ่มผู้สูงอายุ
ทุนทางวัฒนธรรม
Issue Date: 2562
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา 1) ระดับศักยภาพของท้องถิ่นในการ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้สูงอายุบนพื้นฐานทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ : ศึกษา กรณี เทศบาลตาบลยุโป อาเภอเมือง จังหวัดยะลา และ 2) หาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนา ศักยภาพของท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้สูงอายุบนพื้นฐานทุนทางวัฒนธรรมในระดับ ชายแดนใต้ : ศึกษากรณี เทศบาลตาบลยุโป อาเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยการวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิง ปริมาณ ใช้การสารวจกลุ่มตัวอย่าง จานวน 177 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน คือการสุ่ม ตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม และการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระดับศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของกลุ่มผู้สูงอายุบนพื้นฐานทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง ( x = 3.33, S.D. =.0.81) โดยเฉพาะด้านผู้นาและนโยบายมีค่ามากสุด ( x = 3.38, S.D. =.0.84) ใน ประเด็นข้อย่อยว่าผู้บริหารท้องถิ่นมีความรู้และเข้าใจในหลักการจัดสวัสดิการที่สอดคล้องกับหลัก ศาสนาของผู้สูงอายุในชุมชน มีค่าสูงสุด ( x = 3.51, S.D. =.0.84) รองลงมาคือ ด้านการบริหาร จัดการ ( x = 3.33, S.D. =.0.82) ในประเด็นข้อย่อยว่าวางแผนจัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุได้ ครอบคลุมประเภทต่างๆ ของผู้สูงอายุ และหลากหลายทักษะความรู้ โดยคานึงถึงวัฒนธรรมแต่ละ กลุ่ม มีค่าสูงสุด ( x = 3.49, S.D. =1.00) และด้านความร่วมมือเชิงเครือข่ายและชุมชน ( x = 3.33 , S.D. =1.00) ในประเด็นข้อย่อยว่าสามารถผลักดันคนในชุมชนมาร่วมเป็นอาสาสมัครทางานเป็น เครือข่ายในการดูแลสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุที่คานึงถึงวัฒนธรรมและศาสนา ( x = 3.36, S.D. =0.93) ส่วนแนวทางการพัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้สูงอายุบน พื้นฐานทุนทางวัฒนธรรมในระดับชายแดนใต้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x = 3.80, S.D. =0.78) โดยเฉพาะประเด็นที่มีค่ามากสุดคือ ต้องสนับสนุนให้ชมรมผู้สูงอายุ และชุมชนเป็นตัวหลักในการดูแล ผู้สูงอายุบนพื้นฐานความต้องการของผู้สูงอายุ ( x = 3.92, S.D. =0.92) รองลงมาคือองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นควรตั้งงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการให้เงินเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุให้มากขึ้น ( x = 3.91, S.D. =0.94) ประเด็นควรตั้งกรอบเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรนักกายภาพและนักบริบาลสาหรับ ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ( x = 3.91, S.D. =0.93) และประเด็นควรส่งเสริมแนวคิดวิสาหกิจเพื่อช่วยเหลือสังคม โดยรวมกลุ่มอาชีพของผู้สูงอายุตามความเหมาะสมของพื้นที่ ( x = 3.91, S.D. =1.01)
URI: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/5363
Appears in Collections:4.05 วิจัย



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.