Please use this identifier to cite or link to this item: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/5149
Title: ความเข้าใจในการนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในท้องถิ่น กรณีศึกษา : ประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือน ตำบลทรายขาว อำภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
Other Titles: The Understanding of the Sufficiency Economy Philosophy for Implementation in the Local Community: A Case Study of Household Leaders at Sai khow Sub - District, Koh Phow District, Pattani Province
Authors: เวคิน วุฒิวงศ์
Keywords: การวิจัยเชิงปริมาณ
เศรษฐกิจพอเพียง
ท้องถิ่น
จังหวัดปัตตานี
Issue Date: Dec-2015
Publisher: วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (2015): กรกฎาคม-ธันวาคม
Citation: https://tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/150583
Series/Report no.: 2;59-74
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเข้าใจ ในการนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในชุมชน ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านเทคโนโลยี ด้านจิตใจ และเพื่อเปรียบเทียบระดับความเข้าใจในการนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในชุมชน จำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ภาวะหนี้สิน จำนวนการถือครองที่ดิน และจำานวนครั้งที่เข้ารับการอบรมเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของหัวหน้าครัวเรือน ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยใช้วิธีการการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างมีสัดส่วน คิดเป็นร้อยละ 34 ของ ครัวเรือนในแต่ละหมู่บ้านจากประชากรครัวเรือน 789 ครัวเรือน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวนครัวเรือนในตำบลทรายขาวโดยวิธีการของ Taro Yamane แยกจำนวนครัวเรือนออกเป็น 6 หมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านลำหยัง จำนวน 48 ครัวเรือน หมู่ที่ 2 บ้านหลวงจันทร์ จำนวน 41 ครัวเรือน หมู่ที่ 3 บ้านทรายขาวออก จำานวน 53 ครัวเรือน หมู่ที่ 4 บ้านควนลังงา จำานวน 44 ครัวเรือน หมู่ที่ 5 บ้านทรายขาวตก จำนวน 37 ครัวเรือน และหมู่ที่ 6 บ้านลำ าอาน จำานวน 42 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 265 ครัวเรือน ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเข้าใจในการนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในท้องถิ่น ในภาพรวมมีความเข้าใจระดับปานกลาง (X= 3.43) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการพึ่งตนเองด้านจิตใจ มีผลความเข้าใจอยู่ ในระดับมาก (X= 3.69) รองลงมาอยู่ ในระดับปานกลาง คือการพึ่งตนเองด้านสังคม (X= 3.49) การพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ (X= 3.35) การพึ่งตนเองด้านทรัพยากรธรรมชาติ (X= 3.31) และการพึ่งตนเองด้านเทคโนโลยี (X= 3.16) ตามลำดับ
URI: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/5149
ISSN: 1905-2393
Appears in Collections:4.02 บทความวิจัย

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2558-J.YRU 10(2) 59-74.pdf221.64 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.