Please use this identifier to cite or link to this item: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/4461
Title: ความพึงพอใจของผู้ประกอบการในการจำหน่ายสินค้าโอทอป (OTOP) ในประเทศ มาเลเซีย
Authors: ชินีเพ็ญ มะลิสุวรรณ
Keywords: ความพึงพอใจ
ผู้ประกอบการ
การจำหน่ายสินค้า
OTOP
Issue Date: 2560
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความพึงพอใจของผู้ประกอบการในการจำหน่ายสินค้า โอทอป (OTOP) ในประเทศมาเลเซีย 2) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานในการจำหน่ายสินค้าโอทอป (OTOP) ในประเทศมาเลเซีย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เข้าร่วมโครงการจัดแสดงและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ OTOP สานสัมพันธ์สองแผ่นดิน ประจำปี 2559 (Karnival PKS Terengganu & OTOP Thailand 2016) กิจกรรมส่งเสริมการตลาด สนับสนุน ช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP และ วิสาหกิจชุมชน จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ผลิตชุมชน คิดเป็นร้อยละ 50 ส่วนใหญ่เป็น ผู้ประกอบการประเภทผลิตภัณฑ์อาหาร คิดเป็นร้อยละ 35.00 ส่วนใหญ่อยู่ในประเภทผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ รับการคัดสรรฯ คิดเป็นร้อยละ 51.66 รองลงมาคือ ได้รับการคัดสรรฯ อยู่ในระดับ 5 ดาว คิดเป็นร้อยละ 16.40 ส่วนใหญ่ทราบข้อมูลการจัดงานจากเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน คิดเป็นร้อยละ 28.33 รองลงมาคือ ทราบข้อมูลการจัดงานจากเครือข่าย OTOP คิดเป็นร้อยละ 20.00 ส่วนใหญ่มีแหล่งจ าหน่ายสินค้าของ กลุ่มอยู่ในตลาดต่างประเทศ คิดเป็นร้อยละ 51.67 1) ผลการวิจัยด้านความพึงพอใจ พบว่า 1.1) ความพึงพอใจด้านความเหมาะสมในการดำเนินงาน พบว่า มีความพึงพอใจในเรื่องของสถานที่จัดงาน มากที่สุด ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.83) 1.2) ความพึงพอใจในประโยชน์และความคุ้มค่า พบว่า มีความพึงพอใจประโยชน์จากโครงการในเรื่องของการประชาสัมพันธ์สินค้าให้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( x =4.30) 1.3) ความพึงพอใจในการเข้าร่วมจ าหน่าย พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ในครั้งนี้มีความพึงพอใจในด้านพิธีเปิดงาน ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( x = 4.30) รองลงมา ด้านจำนวนวัน ในการจัดงาน ( x =4.27) การวางแผนการจัดสถานที่ การจัดบูธ และโซนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย ( x =4.20) 2) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน พบว่า 2.1) จำนวนร้านค้า มีปริมาณมากเกินไป ในขณะที่พื้นที่ในการจัดกิจกรรมมีจำนวนน้อย 2.2) ร้านค้าหาบเร่ ปิดกั้นทาง เข้า-ออก ทำให้ลักษณะการจัดงานไม่โดดเด่น 2.3) ก าลังการซื้อของคนในรัฐตรังกานูลดลง เนื่องจาก ความถี่ของการจัดงานภาครัฐ 2.4) ระยะเวลาในการประชาสัมพันธ์ยาวเกินไป ป้ายการจัดงานทางเข้าไม่ เด่นชัด 2.5) สินค้าที่ไปจ าหน่ายซ้ำกันไม่มีความหลากหลาย เนื่องจากรอการส่งชื่อของผู้ประกอบการ ต่างจังหวัด ทำให้การคัดเลือกกลุ่มมีเวลาน้อย
URI: http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/4461
Appears in Collections:2.01 บทความวิจัย



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.