DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการส่งเสรมิการเรียนรู้ และการจัดการเรียนการสอนใน หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ที่มุ่งตอบสนองทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21: ศึกษากรณี หมวดรายวิชาเฉพาะ หลักสูตรรฐัประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

Show simple item record

dc.contributor.author ศิริลักษณ์ คัมภิรานนท์
dc.contributor.author สุปรีญา นุ่นเกลี้ยง
dc.contributor.author สุวิมล อิสระธนาชัยกุล
dc.contributor.author สุวิมล แซ่ก่อง
dc.contributor.author สุวิมล แซ่ก่อง
dc.contributor.author ศรินทร์ญา จังจริง
dc.contributor.author อิสยัส มะเก็ง
dc.contributor.author คมวิทย์ สุขเสนีย์
dc.contributor.author มุบดี อุเด็น
dc.contributor.author ชัยวัฒน์ โยธี
dc.contributor.author ปพน บุษยมาลย์
dc.date.accessioned 2021-12-24T04:03:03Z
dc.date.available 2021-12-24T04:03:03Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/5387
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ และการจัดการเรียนการสอน ในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ที่มุ่งตอบสนองทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : ศึกษากรณี หมวดวิชา เฉพาะ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของ นักศึกษาในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ : ศึกษากรณี หมวดรายวิชาเฉพาะ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนารูปแบบ การส่งเสริมการเรียนรู้ และการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งตอบสนองทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาใน ศตวรรษที่ 21 : ศึกษากรณี หมวดรายวิชาเฉพาะ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ศึกษาคือนักศึกษาภาคปกติ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ชั้นปี 1 - ปี 4 โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณใช้การสำรวจกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 429 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การประชุมปฏิบัติการ การ ประชุมกลุ่มระดมสมองแบบประเมิน และแบบรายงานการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มผู้สอนในรายวิชา หมวดวิชาเฉพาะด้าน หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ การเก็บข้อมูลใช้การประสานเจ้าหน้าที่และตัวแทน ห้องดำเนินการ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนวิธีวิจัยเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงตรรกะสรุปเชื่อมโยง สรุปผลการวิจัย 1. ระดับสมรรถนะตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาในหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตร์ : ศึกษากรณี หมวดรายวิชาเฉพาะ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สมรรถนะของผู้เรียนตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมอยู่ระดับมาก (x=2.64) และเมื่ออธิบายเป็นรายด้าน พบว่า ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (x=2.75) มีค่า มากสุด รองลงมา คือ ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรมต่างกระบวนทัศน์ (x=2.75) ส่วนทักษะด้าน (2) คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (x=2.42) มีค่าน้อยสุด แต่เมื่อพิจารณาสมรรถนะ ของผู้เรียนตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นรายด้าน พบว่า ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creative & Innovation) ภาพรวมอยู่ระดับมาก (x=2.75) โดยเฉพาะประเด็นท่านท างานอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับผู้อื่น (x=2.97) มีค่ามากสุด ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรมต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural understanding) ภาพรวมอยู่ระดับมาก (x=2.75) โดยเฉพาะประเด็นท่านเคารพหรือยอมรับในความเห็นที่ต่างกันหรือ หลากหลายของผู้คนต่าง ๆ (x=2.95) มีค่ามากสุด ทักษะด้านการร่วมมือการท างานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaborative Teamwork & Leadership) ภาพรวมอยู่ระดับมาก (x=2.69) โดยเฉพาะประเด็นท่านมักจะร่วมมือท างานเรื่องต่าง ๆ กับ ผู้อื่น (x=2.95) มีค่ามากสุด ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา (Critical thinking & problem solving) ภาพรวมอยู่ระดับมาก (x=2.65) โดยเฉพาะประเด็นท่านคิดวิเคราะห์เปรียบเทียบ สิ่งต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจหรือลงมือท า (x=2.71) มีค่ามากที่สุด ทักษะด้านอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning skill) ภาพรวมอยู่ระดับ มาก (x=2.62) โดยเฉพาะประเด็นท่านมีความยืดหยุ่นในการใช้ชีวิตและสามารถปรับตัวกับสังคมต่าง ๆ (x=2.79) มีค่ามากสุด ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ (Communication,Information & Media literacy) ภาพรวมอยู่ระดับมาก (x=2.61) โดยเฉพาะประเด็นท่านเข้าใจและใช้ประโยชน์ด้าน เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนหรือส่งงาน (x=2.68) มีค่ามากสุด ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing & ICT Literacy) ภาพรวมอยู่ระดับมาก (x=2.42) โดยเฉพาะประเด็นท่านมีความรอบรู้เกี่ยวกับสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ ประกอบการเรียนการสอน (x=2.44) มีค่ามากสุด 2. แนวทางการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ และการจัดการเรียนการสอนที่มุ่ง ตอบสนองทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 : ศึกษากรณี หมวดรายวิชาเฉพาะ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พบว่า การออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งตอบสนองทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มากที่สุด คือทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (x=4.04) รองลงมาคือทักษะการ สร้างสรรค์และนวัตกรรม (x=3.29) และทักษะด้านการร่วมมือการท างานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (x=3.26) ส่วนทักษะที่มีค่าน้อยที่สุด คือ ทักษะด้าน Career and Learning skill (x=1.99) รองลงมา คือ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (x=2.64) รูปแบบวิธีการสอนที่วางแผนและมีคุณภาพของผลลัพธ์วิธีการสอนที่สอดคล้องกับทักษะการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ การสอนโดยการอธิบาย ถาม – ตอบ การมอบหมายงานกลุ่มให้นักศึกษา ร่วมกันศึกษาค้นคว้า/ฝึกปฏิบัติด้วยตนเองแล้วนำข้อมูลมาสะท้อนกลับ การสอนโดยใช้กรณีศึกษา/กรณี ตัวอย่าง และการสอนโดยใช้สื่อ/สารสนเทศมาอภิปราย/แลกเปลี่ยนความเห็น โดยทั้งนี้ การจัดการเรียน (3) การสอนผ่านรูปแบบกิจกรรมในห้องเรียน กิจกรรมเสริมรายวิชา และกิจกรรมเรียนรู้ด้วยตนเองได้เน้น ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหามากที่สุด สำหรับ การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนที่มุ่ง ตอบสนองทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 พบว่าควรเป็นกลยุทธ์ตามแต่ละทักษะการเรียนรู้ กล่าวคือ ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม และทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ มุ่งใช้กลยุทธ์เสริมจุดแข็งของสมรรถนะผู้เรียน ส่วนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา มุ่งใช้กลยุทธ์เพิ่มขยายจุดเน้น รวมทั้ง ทักษะด้านการร่วมมือ/การท างานเป็น ทีมและภาวะผู้นำ มุ่งใช้กลยุทธ์เสริมการวางแผนการเรียน แต่สำหรับทักษะด้านคอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ และทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อต่างมุ่งใช้กลยุทธ์แก้ไขจุดอ่อน en_EN
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา en_EN
dc.subject การส่งเสริมการเรียนรู้
dc.title การพัฒนารูปแบบการส่งเสรมิการเรียนรู้ และการจัดการเรียนการสอนใน หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ที่มุ่งตอบสนองทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21: ศึกษากรณี หมวดรายวิชาเฉพาะ หลักสูตรรฐัประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ en_EN
dc.title.alternative Development of Encourage for Learning and Instruction Methods in the Public Administration Curriculum to Reach the 21st Century Learning Skills : A Case Study of Specialization Course, Public Administration Program, Faculty of Humanities and Social Science en_EN
dc.type Working Paper en_EN


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account