DSpace Repository

โครงการนำองค์ความรู้เรื่อง “แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่วรรณคดีพื้นบ้าน” สู่ชุมชน

Show simple item record

dc.contributor.author สุรัสวดี นราพงศ์เกษม
dc.contributor.author สุพร สุนทรนนท์
dc.contributor.author เวคิน วุฒิวงศ์
dc.date.accessioned 2021-12-24T03:45:29Z
dc.date.available 2021-12-24T03:45:29Z
dc.date.issued 2561-03-19
dc.identifier.uri http://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/5202
dc.description.abstract โครงการนำองค์ความรู้เรื่อง “แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและเผยแพร่วรรณคดีพื้นบ้าน” สู่ชุมชน เป็นโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณาจารย์สังกัดหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้รับการอนุมัติให้ ดาเนินโครงการโดยใช้งบประมาณแผ่นดิน จานวน 56,800 บาท มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ ความรู้เรื่อง “แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่วรรณคดีพื้นบ้าน ด้วยการสาธิตกิจกรรม รักการอ่านรักการเล่า และการแสดงละครพื้นบ้าน แก่สถานศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น และรายวิชาการจัดทา หนังสือนิทานสาหรับเด็ก ซึ่งมีกิจกรรมสาคัญในโครงการ ดังนี้ 1. กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคนิคการผลิตละครเวทีสาหรับเยาวชน” ให้แก่ นักศึกษาผู้เป็นคณะทางานจานวน 38 คน โดยบูรณาการองค์ความรู้กับรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น 2. กิจกรรม “รักการอ่านรักการเล่าและการแสดงละครพื้นบ้าน” จานวน 4 ครั้ง ในสถานศึกษาจานวน 4 แห่ง คือ 1) โรงเรียนบ้านยือโร๊ะ จ.ยะลา 2) โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 52 (ชุมชนบ้านต้นไพ) จ.ปัตตานี 3) โรงเรียนสามแยกบ้านเนียง (สิทธิพันธ์อนุกูล) จ.ยะลา และ 4) โรงเรียนบ้านปอเนาะ จ.นราธิวาส การดาเนินโครงการ นาองค์ความรู้เรื่อง “แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่วรรณคดี พื้นบ้าน” สู่ชุมชน บรรลุเปูาหมายตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้ ได้เผยแพร่องค์ความรู้เรื่อง “แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่วรรณคดีพื้นบ้าน” ด้วยการสาธิตกิจกรรมรักการอ่าน รักการเล่า และการแสดงละครพื้นบ้านแก่สถานศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จานวน 4 แห่ง โดยมี นักเรียนเข้าร่วมโครงการจานวน 364 คน และนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชา ภาษาไทย จานวน 38 คน เป็นผู้ปฏิบัติงานในโครงการ การประเมินผลโครงการพบว่า มีระดับความ พึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.58 คิดเป็นร้อยละ 91.60 และพบว่า เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม/โครงการอยู่ในระดับมากที่สุด นับว่า สถานศึกษาได้มีโอกาสเพิ่มพูนประสบการณ์การจัดการเรียนรู้โดยเทคนิคการละครและหนังสือนิทาน ซึ่งสามารถนาไป บูรณาการการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ด้าน วรรณคดี การใช้ภาษา และสังคมและ วัฒนธรรมท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้นักศึกษาผู้ร่วมปฏิบัติงานได้มีโอกาสพัฒนาตนเองใน รายวิชาเรียนและได้เตรียมความพร้อมต่อการเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในวาระต่อไป en_EN
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา en_EN
dc.subject โครงการบริการวิชาการ en_EN
dc.title โครงการนำองค์ความรู้เรื่อง “แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่วรรณคดีพื้นบ้าน” สู่ชุมชน en_EN
dc.type Working Paper en_EN


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account